การเลือกชุดปั่นจักรยาน ทำไมต้องสวมชุดจักรยาน จำเป็นมั้ย.

หลายคนเกิดคำถามและสงสัยว่า ทำไมคนเหล่านี้ช่างแต่งตัวประหลาดนักดูอย่างกางเกงที่สวม ก็รัดรูปเสียจนด้านในมีที่เป็นอะไรส่วนเกินส่วนขาดถูกเผยออกมาจนหมดเสื้อก็ตัวเล็กคับติ้ว ทำไมต้องแต่งตัวประหลาดเช่นนี้แล้วหากเราคิดจะขี่จักรยานกับเขาบ้าง ไม่ต้องแต่งตัวแบบนี้ด้วยหรือ


ความจริงแล้วหากเราคิดจะขี่จักรยานด้วยวัตถุประสงค์ เป็นยานพาหนะเพื่อพาเราไปสู่จุดหมายเดินทางใกล้ๆไปตลาด ไปทำงาน ขี่เล่นในสวนสาธารณะ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอาจไม่จำเป็นต้องหาให้วุ่นวายหลักง่ายๆ คือ สวมใส่สบาย ไม่ซับเหงื่อ ไม่รุ่มร่าม น่าจะเพียงพอ


แต่เราต้องไม่ลืมหลักความปลอดภัยที่ไม่ให้เสื้อผ้าอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปขวางกลไกการทำงานรถจักรยานหากมีส่วนใดที่ยื่นเข้าไป เช่นชายขากางเกงไปเกี่ยวกับซี่จานหน้าที่บันได ก็อาจทำให้การขี่ของเราสะดุด หรือกางเกงของเราขาดได้ดังนั้นการแต่งกายอย่างรัดกุมเป็นเรื่องที่ควรให้สำคัญมากๆ


แต่เมื่อเราเริ่มจริงจังกับการขี่จักรยาน อยากเดินทางไกลๆไปกับมันมีเพื่อนก๊วนใหญ่ที่มีรสนิยมชอบจักรยานเหมือนกัน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่จะเลือกใช้ก็ควรเปลี่ยนไปเหตุผลไม่ใช่แค่ความเทห์ หรือสวยงาม แต่หัวใจหลักก็คือมันทำให้เราสบายตัว คล่องตัวสามารถช่วยให้คุณเดินทางได้ไกลๆ สามารถนั่งอยู่บนอานนานๆ ผ่านที่ต่างๆ ไปอย่างสนุกสนานน่าประทับใจเรามาดูกันว่าโดยหลักๆแล้วเราควรสวมใส่อย่างไร

กางเกงจักรยาน (Shorts)
กางเกงจักรยานเป็นเครื่องแต่งกายชนิดแรกที่คุณควรเลือกหามาใช้ เพราะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างคุณกับรถความรู้สึกที่ส่งผ่านจากพื้นถนนมายังยาง ล้อ ตัวถัง จนถึงอาน จะถูกถ่ายทอดมายังผู้ขี่ สิ่งที่คั่นตรงกลางจะช่วยลดความรู้สึกสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมา ทำให้ร่างกายส่วนบนรู้สึกนิ่มนวลหรือกระด้างเวลาขี่  

ความจริงกางเกงที่สวมใส่สำหรับขี่จักรยานจะมีหลากหลายแบบ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่จะเลือกใช้งานทั้งขาสั้น สามส่วน สี่ส่วน หรือขายาวมันจะช่วยปกป้องร่างกายหรือทำให้คุณคล่องตัวเวลาสวมใส่แต่ที่แตกต่างจากกางเกงทั่วไปคือมันจะมีการบุบริเวณที่อวัยวะของคุณต้องสัมผัสกับอานสิ่งที่จะใช้บุจะมีตั้งแต่ผ้าหนาๆ นิ่มๆ หนัง ผ้าชามัวร์ หรือแผ่นยางหรือโฟมสังเคราห์ที่มีรูปร่างเข้ากับร่างกายของคุณส่วนที่บุนี้จะถูกเย็บติดกับกางเกง ทำให้ผู้ส่วมรู้สึกนิ่มนวลไม่ปวดก้นหรืออวัยวะรอบๆเมื่อได้รับแรงกระแทกขอบหรือรอยต่อที่เย็บหากไม่เรียบจะมีผลต่อเนื้อเยื่อที่สัมผัสเมื่อคุณสวมไปนานการเสียดสีที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่ออาจทำให้เกิดรอยแผลขึ้นมาจนคุณหมดความสุขไปกับการขี่ได้ 

ปัจจุบันการใช้วัสดุ จะมีการออกแบบให้เข้ากับอวัยวะของคนเรามากขึ้น เพื่อลดแรงกดหรือเสียดสีในอวัยวะส่วนที่บอบบางเช่นอวัยวะเพศทำให้ขี่ได้สบายและนานขึ้นนอกจากส่วนบุแล้ว เนื้อผ้าด้านนอกที่เป็นตัวกางเกงจะเป็นผ้ายืด ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่เรารู้จักหรือได้ยินบ่อยๆคือผ้า Lycra ตัวผ้าจะยืดหยุ่นได้จนแนบสนิทกับร่างกายของเรา ไม่มีส่วนย่นยับที่จะคอยเสียดสีผิวหนังเวลาที่เคลื่อนไหวร่างกายทำให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว การตัดเย็บจะใช้ผ้าน้อยหรือมากชิ้น ตามเหตุผลการออกแบบแต่ยิ่งมีชิ้นผ้าหลายชิ้นเพื่อให้เข้ากับอวัยวะในพื้นที่ส่วนต่างๆ มากเท่าไร ราคาก็จะสูงขิ้นตามมาด้วย

เมื่อเรารู้จักหน้าที่และเหตุผลของกางเกงจักรยานแล้ว บางคนรู้สึกเขินอายที่จะอวดรูปทรงของตัวเองก็จะมีทางเลือกอื่นคือจะมีการทำกางเกงอีกชั้นมาสวมทับภายนอก เพื่อปกปิดกางเกงแบบแรกเพียงแต่กางเกงด้านในจะไม่ใช้ผ้าไลคราที่ทอแน่น ตัวผ้าจะทำให้โปร่ง เพื่อช่วยระบายเหงื่อออกมาได้ง่ายทำให้ไม่อับชื้นผ้าด้านนอกจะต้องดูดซับและระบายเหงื่อได้ง่าย อาจจะมีช่องกระเป๋า ด้านหน้า หรือด้านข้างไว้ใส่ของแต่จะไม่มีกระเป๋าด้านหลัง เพราะหากมีของใส่ในกระเป๋าหลังจะไปขัดขวางการสัมผัสของก้นกับอาน และจะไปลดการรับแรงที่เหมาะสมได้  

ในตลาดจะมีความยาวขากางเกงหลายแบบ หากเป็นกางเกงขายาว จะมีลักษณะพิเศษคือที่ปลายขากางเกงจะมีกระดุม หรือสายรัดไว้รัดไม่ให้ปลายขากางเกงสะบัดไปมายามเราเคลื่อนไหว และอาจเข้าไปติดกับฟันจาน หรือโซ่ได้กางเกงเหล่านี้อาจจะกันลม กันน้ำ มีแถบสะท้อนแสงติดอยู่ เพื่อให้มองเห็นได้ในยามค่ำคืน ขึ้นกับผู้ผลิตแต่ละรายกางเกงแบบนี้จะช่วยทำให้ผู้สวมใส่สามารถทำกิจกรรมอื่น นอกเหนือจากจักรยานเช่นเดินซื้อของ ไปทานอาหารนอกบ้าน ได้โดยไม่ต้องเคอะเขิน


เสื้อจักรยาน (Layering)
คำว่าเลเยอร์ริ่ง หมายถึงเป็นชั้นๆ เพราะการสวมเสื้อในประเทศแถบหนาวจะต้องใส่หลายชั้นไม่เหมือนประเทศแถบร้อนทางบ้านเรา หลักการคือเสื้อผ้าจะปกป้องร่างกายจากภูมิอากาศภายนอกทั้งความหนาว ความร้อน ลม ฝน หรือแสงแดดนอกจากการปกป้องแล้วยังต้องควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เพราะขณะปั่นจักรยาน ร่างกายจะผลิตความร้อนและขับออกมาในรูปของเหงื่อเหงื่อที่ออกจะต้องทำให้ระเหยออกไป 

เพื่อระบายความร้อนไปให้พ้นจากร่างกายหากไม่มีการระบายออก ความร้อนที่สะสมรอบๆ ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีฏิกิริยาตอบสนองเพื่อลดความร้อนนั้นทำให้รู้สึกหนาวสั่น (Thermoregulation)
ดังนั้นเสื้อผ้าที่เราสวมใส่นอกจากจะปกป้องร่างกายแล้ว ยังต้องดูดซับเหงื่อออกไปจากผิวหนังแล้วระบายเหงื่อออกไปจากเสื้อผ้า ไม่ให้เหงื่อถูกซับเก็บสะสมไว้บนเสื้อผ้าจนชื้นเปียกเมื่อเข้าใจหลักการแล้ว เราคงได้คำตอบว่า ทำไมนักปั่นไม่สวมเสื้อผ้าฝ้ายกัน!

รูปแบบเสื้อจักรยานทั่วๆ ไปก็คือ มักจะมีซิปตรงกลางด้านหน้าอาจจะสั้นๆ ประมาณหนึ่งในสามหรือยาวตลอดซิบควรจะยาวพอที่เราสามารถสวมใส่เสื้อได้สะดวกแม้ขณะสวมหมวกนิรภัยเสื้อจักรยานมักจะแนบกับร่างกายเหตุผลเพื่อลู่ลม ไม่ต้านลมปะทะ ความแนบเนื้อทำให้สามารถซับเหงื่อได้ทันทีเมื่อมีเหงื่อออกมาด้านหลังมักจะมีกระเป๋าที่ชายเสื้อด้านล่างสามารถล้วงหยิบได้สะดวกอาจจะมีหนึ่ง สอง หรือสามช่องจะมีหรือไม่มีซิปก็ได้บางยี่ห้อก็จะเย็บแถบสะท้อนแสงไว้ด้วยเพื่อช่วยให้มองเห็นในที่มืดตัววัสดุก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ใยสังเคราะห์ จนถึงผ้าใยธรรมชาติเช่นขนแกะ(wool)

สำหรับอากาศหนาว เราควรสวมเสื้อผ้าชั้นในเป็นเหมือนผิวหนังอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้อากาศถูกกักรอบๆ ร่างกายอีกชั้นหนึ่งเปรียบเหมือนฉนวนกันไม่ให้ร่างกายหนาว หรืออาจเพิ่มชั้นที่สามด้านนอกสุด เพื่อสวมให้ความอบอุ่นเช่นแจ็คเก็ต กันลมกันฝน

ที่มา: http://ibikecafe.com/

ติดตามสาระข้อมูลความรุ้ อื่นๆที่ เกี่ยวกับการปั่นจักรยาน ได้ที่ 
https://www.facebook.com/lovebicyclethailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น